วันศุกร์ที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2551

ว่าด้วยเรื่อง Typography ในเชิงเบื้องต้น

Typography (ไท-ผะ-กรา-ฟิ) หรือที่คนไทยเรียกว่า "ไทโปกราฟี้" นั้น แน่นอนว่ามันเป็นรากศัพท์มาจากภาษาอังกฤษซึ่งแปลตรงตัวว่า วิชาตัวพิมพ์, วิชาการทำตัวพิมพ์ เป็นต้น โดยจะมีชื่อวิชาที่ใกล้เคียงและมีความเกี่ยวข้องกันบางบริบทที่ชื่อว่า Calligraphy ซึ่งแปลว่าวิชาประดิษฐ์ตัวอักษร แต่ในส่วนของคำหลังนั้นมีความหมายหนักออกไปในเชิงการประดิษฐ์ตัวอักษรโดยใช้ส่วนของลายมือเป็นหลัก เป็นส่วนที่ค่อนข้างแตกต่างไปจากคำข้างต้น ที่เน้นไปทางด้านศาสตร์และศิลป์ของตัวอักษรเสียมากกว่า

Typography, Typographic และ Typographer จริงๆ แล้วทั้ง 3 คำนี้ ในความรู้สึกส่วนตัวนั้นคิดว่าไม่เหมือนกัน โดย Typography จะให้ความรู้สึกไปทางด้านของงานออกแบบที่ใช้ตัวอักษรเป็นหลักมากกว่า ส่วน Typographic น่าจะเป็นชื่อศาสตร์หรือวิชา เหมือนกับชื่อวิชาต่างๆ เช่น Geographic, Physics หรือ Photographic ที่ออกไปทางวิชาการ และ Typographer นั้นก็แปลว่า นักออกแบบ หรือนักประดิษฐ์ตัวอักษร ด้วยเหตุฉะนี้เราควรทำความเข้าใจในส่วนคล้ายคลึงกันของคำแต่ละคำกันก่อน


ส่วนแรก ประวัติศาสตร์สากลของ Typography ซึ่งเวลาเรา
จะศึกษาอะไรซักอย่างแล้ว เราก็ควรที่จะศึกษาด้านประวัติศาสตร์ของตัวหนังสือกันเสียก่อน ในส่วนนี้เป็นเรื่องของสากล ยังไม่เกี่ยวกับใน ประเทศไทยของเรา...


ประวัติศาสตร์ของตัวพิมพ์นั้นแบ่งออกเป็น 5 ยุค
ใหญ่ๆ ได้แก่ Humanistor OLD STYLE,
TRANSITIONAL, MODERN, EGYPTIAN หรือ SLAB SERIF และ Geomentric SANS SERIF
ซึ่งแต่ละยุคก็ย่อมามีความแตกต่างกัน ดังนี้...





Humanistor OLD STYLE ยุคแรกเริ่มของตัวพิมพ์ที่เริ่มสร้างบทบาทของตัวพิมพ์ขึ้นมา โดยยุคนี้เกิดขึ้นระหว่างปี ค.ศ. 1966 (ยุคฟื้นฟูศิลปะและวิทยาการ เรอนาซองส์) ซึ่งตัวอักษรที่โด่งดัง และเป็นตัวแทนของยุคนี้ก็คือ Garamond นั่นเอง โดยที่ตัวอักษรในยุคนี้จะมีขา เส้นตีน หรือว่าเชิงอยู่ ที่เรียกกันว่า Serif







ในยุคต่อมาคือ TRANSITIONAL ตัวอักษรได้มีการพัฒนาขึ้นมาจากสร้าง Contrast กับระหว่างเส้นตั้งและนอน ลดเส้นและส่วนที่ไม่
สำคัญลงไป แต่ยังคงไว้ด้วยเส้นเชิง หรือ Serif โดยตัวพิมพ์ที่เป็นตัวแทนของยุคนี้ชื่อ Baskerville







MODERN ยุคที่ตัวอักษรพัฒนามาถึงที่สุดแห่งความ Contast จะเห็นได้อย่างชัดเจนว่าตัวอักษร
ในยุคนี้ได้มีการพัฒนาอย่างชัด คือเส้นตั้ง เส้นเอน และเส้นนอนจะมีความแต่ต่างกันอย่างมาก จนสังเกตุได้ชัด ซึ่งเส้นที่บางเราจะเรียกว่า Hairline โดยชื่อตัวอักษรที่เป็นตัวแทนแห่งยุคนี้คือ Bodoni








EGYPTIAN หรือ SLAB SERIF เป็นยุคที่การ
ค้าขายเจริญ การพิมพ์ก็เริ่มมีบทบาทมากขึ้นเรื่อย และตัวอักษรในยุคนี้ก็มีเอกลักษณ์อย่างชัดเจนก็คือ เส้นเชิงหรือ Serif นั้น มีขนาดเท่ากับเส้นแนวตั้งหรือแนวนอนของตัวอักษร ซึ่งตัวอักษรที่เป็นตัวแทนแห่งยุคนี้คือ Rockwell






และในยุคสุดท้ายถึงปัจจุบัน ก็ได้มีการพัฒนาตัวอักษรมาจนเป็นที่เด่นชัดกที่สุดก็คือ SANS SERIF ซึ่งในยุคนี้ตัวอักษรจะไม่มีเชิง เป็นการลดทอนความไม่จำเป็นออกไปจนถึงที่สุด โดยชื่อตัวอักษรที่เป็นตัวแทนแห่งยุคนี้มีมากมาย แต่เท่าที่โด่งดังที่สุดก็คือ Helvetica ซึ่งเป็นตัวอักษรที่มีผลกระทบต่องานออกแบบมาที่สุดในช่วงทศวรรษนึงเลยทีเดียว






จากเรื่องราวของประวัติศาสตร์ตัวพิมพ์อย่างคร่าวๆ เราจะเห็นได้ว่าด้วยรูปแบบและความจำเป็น
ของตัวอักษรได้มีการปรับเปลี่ยนและพัฒนามาอย่างต่อเนื่อง

วันจันทร์ที่ 28 เมษายน พ.ศ. 2551


โครงการ : ไทยจะตาย (THAI Style Project) อ่านดูแล้วก็ต้องตกใจเพราะว่ามันสอดคล้องกับสถานการณ์บ้านเมืองในปัจจุบัน แต่ถ้าตกใจก็ต้องอ่านข้อความต่อไปคือ (THAI Style Project) นั่นก็หมายความว่าเป็นเรื่องที่ไทยๆเอาซะมาก ไทยอย่างนี้ ไทยจริงๆ จนเป็น "ไทยจะตาย" ไม่ใช่ไทยกำลังจะตาย


หลังจากที่ทำความเข้าใจกับชื่อโครงการแล้ว คราวนี้มาทำความเข้าใจกับโครงการนี้ กล่าวคือ ด้วยแนวคิดของ G27 และกลุ่ม PLUGFIND Family ซึ่งทำงานเกี่ยวกับทางด้านออกแบบ ได้เล็งเห็นถึงภาวะแทรกซ้อนทางด้านวัฒนธรรมการออกแบบของคนไทย ที่อิงกับหลักการของตะวันตก หรือที่เรียกว่าฝรั่ง แต่ก็จะมีบางคนแย้งมาว่า ก็เรื่องการออกแบบฝรั่งเค้าทำมาก่อนเราตั้งกี่ร้อยปี... ด้วยเหตุนี้ ทำไมเราไม่กำหนดแนวทางไทยให้เราบ้าง? มัวแต่ไปวิ่งตามฝรั่ง

ถ้าจะยกตัวอย่างที่เห็นได้ชัดคงหนีไม่พ้นเรื่องของภาพ Illustratrate ทั้งมือใหม่ หรือมือเก่า ที่หลายครั้งหลายคราวก็นำความเป็นฝรั่งมาใช้ในงานแทบทั้งสิ้น ทั้งรูปแบบ ลายเส้น Deco Nuevo องค์ประกอบ ทั้งหลาย เห็นแล้วต้องบอกว่าฝรั่งแน่ๆ ทั้งที่เป็นคนไทยทำขึ้นมา

เมื่อเขียนมาอย่างนี้แล้วก็ไม่ได้ให้หมายความว่าจะใช้ไม่ได้ หรือว่าห้ามคนไทยใช้ แต่ประเด็นจริงๆคือ ทำไมเราไม่ใส่ความเป็นไทย หรือว่าดูแล้วว่า..."เออ มันเป็นไทยว่ะ", "นี่ของประเทศไทยแหง" เป็นต้น หากหลายคนยังคิดไม่ออกว่าเราจะทำความเป็นไทยอย่างไร เริ่มสังเกตุเรื่องของวัฒนธรรมเป็นอย่างแรกก่อน สิ่งที่ตามมาก็คือสิ่งแวดล้อมทางกายภาพ จากนั้นเราจึงใส่ความเป็นตัวตน คิดว่าสูตรสำเร็จนี่ใช้กันอย่างแพร่หลายกันทั่วโลก

ยกตัวอย่างง่ายๆ เช่น ขนบฯไทย การไหว้ หนังสือพิมพ์ ป้าย ถนนหนทาง สภาพความเป็นอยู่ การใช้ชีวิต ข้าวสาร เป็นต้น สิ่งที่พูดมาเชื่อได้เลยว่าถ้าให้มองก็จะเห็นในความเป็นไทยอยู่ด้วยกันทั้งสิ้น

โครงการ : ไทยจะตาย (THAI Style Project) ไม่ได้มีหน้าที่เป็นตัวกำหนดกรอบเกณฑ์ของงานนออกแบบไทยในแขนงต่างๆ หากเป็นการส่งเสริม ผลักดัน ให้มีความชัดเจน มีความเป็นไทยขึ้นทุกขณะ ชาตินิยม เสียมากกว่า ไม่ได้มุ่งเน้นแสวงหากำไร แต่อยากจะสร้างจิตสำนึก หรือตัวตนแห่งชาติ ในเมื่อเรามีความเป็นไทย เราเป็นไท แล้วทำไมเราไม่แสดงให้ชาวโลกเห็น ซึ่งปัจจุบันนี้ก็มีนักออกแบบไทยจริงๆ ที่ใช้แนวไทยๆ ซึ่งถ้าคิดเป็นร้อยละเทียบไม่ได้กับนักออกแบบไทย ที่ใช้แนวทางสากล...


โครงการ : ไทยจะตาย (THAI Style Project) เชิญร่วมส่งงานออกแบบไม่ว่าจะเป็น
- ภาพประกอบ (Illustration)
- ตัวหนังสืออิเล็คทรอนิกส์ (Type Design)
- เรขศิลป์ (Graphic Design)
- การออกแบบการปฏิสัมพันธ์แต่ในบริบทของคอมพิวเตอร์ (Interactive)
- เรขศิลป์เคลื่อนไหว (Motion Graphic)
- เว็บไซต์ (Website)
- งานโฆษณา (Print ADs.)
- ภาพยนตร์ (Movie)
- การ์ตูน, คาแรคเตอร์, การ์ตูนเคลื่อนไหว (Cartoon, Charator Design, Animation)
- ภาพถ่าย (Photography)
- สื่อชนิดใหม่ (New Media)
ทางเราไม่มีรางวัลใดๆทั้งสิ้นให้ แต่ถ้าโครงการได้รับการตอบรับ และมีผู้สนใจส่งผลงาน เราจะจัดนิทรรศการตามสถานที่ต่างๆให้ แต่ถ้าไม่ถึงหรือถึงเป้าเราจะนำงานของท่านไปลง Egazine ที่ทางเรากำลังจะสร้างขึ้น เกี่ยวกับงานออกแบบในประเทศไทย

ถึงวันที่ 30 ตุลาคม พ.ศ. 2551

สนใจหรือติดต่อสอบถาม ส่งผลงานได้ที่ plugfind@live.com

ผลงานของ G27










เกี่ยวกับเรื่องวัฒนธรรม ความเป็นไทย











วันอาทิตย์ที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2551

What is a Type

หลายต่อหลายคนคงจะสับสนในเรื่องของการเรียกตัวอักษรแต่ละอย่าง ก็เลยไปหาแล้วรวบรวมมาให้ทำความเข้าใจกัน...

Type Face
คือ แบบของอักษร เป็นลักษณะรูปแบบในแต่ละชุด ทั้งพยัญชนะ สระ วรรณยุกต์และเครื่องหมายพิเศษต่างๆ การออกแบบชุดตัวอักษรไทยและชุดตัวอักษรภาษาอังกฤษ ก็จะหมายถึงการออกแบบ ก-ฮ ตัว A-Z ตัวนำ ตัวตาม รวมทั้งสระ วรรณยุกต์ เครื่องหมาย ตัวเลข รวมทั้งอักขระอื่นๆที่เข้าชุดกันนั้นเรียกว่า Type Face Design (ซึ่งยังไม่ใช่และยังไม่ได้ถูกเรียกว่า Font)

Type
คือ การกล่าวถึง Type Face โดยรวมๆ ในชิ้นงาน เช่นใน Print Ad ชิ้น อาจมีการใช้งานถึง 2-3 Type Face

Typography
คือ ศาสตร์ วิชาการ องค์ความรู้ที่เกี่ยวข้องกับตัวอักษรทั้งหมด เช่น เรื่องของประวัติศาสตร์การกำเนิดของตัวอักษร วิวัฒนาการการเขียน การบันทึก การพิมพ์ การออกแบบจัดวาง การอ่าน รวมถึงเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้อง

Typographer
คือ ผู้นำที่รู้ทาง Typography ผนวกกับความคิดสร้างสรรค์เฉพาะตัว มาแสดงออกกับงานที่เกี่ยวข้องกับตัวอักษรเช่น การเลือกและการออกแบบจัดวางตัวอักษร ข้อความ ของชิ้นงานโฆษณาบนสิ่งพิมพ์ Super (ข้อความ) ของโฆษณาทางโทรทัศน์

Font
คือ ข้อมูลของชุดอักษรสำเร็จรูป ซึ่งเรียกว่า Font file ข้อมูลสำเร็จรูปได้แก่ ระยะ space ต่างๆของตัวอักษรเช่น Tracking (ระยะของแต่ละตัวอักษร) Leading (ระยะบรรทัด) ช่องไฟพิเศษของแต่ละคู่อักษร (Kerning) นั่นคือ File ที่เป็นข้อมูล Digital ของ Font นั้นๆ เมื่อนำเอาอักษรมาบรรจุลงในแป้น Keyboard และปรับแต่ง Spacing ต่างๆ ทดสอบการพิมพ์ การอ่านจนสวยงามและ Generate เป็น Font File ชุดอักษรนั้นจะกลายเป็น Font ตามความหมายที่ถูกต้อง

Font Family / Type Family
ตระกูลหรือสกุลของตัวพิมพ์ ซึ่งก็คือ แบบตัวพิมพ์ที่ออกแบบขึ้นมาในขนาดและสไตล์ต่างๆ โดยทั่วไปแล้ว Font family มักประกอบด้วย 4 สไตล์ roman, italic, bold และ bold italic

Lettering
คือ การออกแบบตัวอักษรที่ไม่ต้องครบชุด คือเฉพาะแค่คำ ประโยค หรือข้อความเฉพาะกิจ เช่นการออกแบบคำว่า “คณะศิลปกรรม” ที่ติดอยู่บนอาคารของคณะ เป็นต้น

Font Format
หากแบ่งฟอนต์ตามฟอร์แมตหรือเทคโนโลยี จะมีฟอนต์ชนิดต่างๆ มากมาย แต่ฟอนต์ 3 ชนิดหลักที่เป็นมาตรฐานในเครื่องคอมพิวเตอร์ระบบต่างๆ ได้แก่ PostScript Type 1, TrueType และ OpenType โดยฟอนต์ทั้ง 3 ฟอร์แมตนี้ ใช้วิธีกำหนดรูปร่างของตัวอักษร (glyphs) ด้วยเส้นกรอป (outline) ซึ้งประกอบด้วยจุด เส้นตรงและเส้นโค้ง จึงสามารถย่อขยายได้อย่างไม่จำกัด (scalable) ขณะที่ยังคงความชัดไว้ได้

PostScript Type 1 (Type 1) ฟอนต์ที่พัฒนาขึ้นโดย Adobe ที่ใช้ภาษา PostScript เป็นตัวกำหนดโครงร่างของฟอนต์ ซึ่งนับเป็นฟอร์แมตมาตรฐานของระบบ Digital Font ในอดีตโดยแต่ละฟอนต์จะประกอบด้วย 2 ไฟล์ได้แก่ Printer Font Metrics (PFM) และ Printer Font Binary (PFB)

TrueType (TT) ฟอนต์ที่เริ่มพัฒนาขึ้นโดย Apple และอนุญาตให้ทาง Microsoft ได้นำไปพัฒนาต่อ โดยทั้ง 2 บริษัทได้ใช้ฟอนต์ TrueType เป็นมาตรฐานระบบปฏิบัติการตั้งแต่ Mac System 7 และ Window 3.1 เป็นต้นมา หลังจากนั้น บริษัททั้งสองได้มีการเพิ่มฟีเจอร์พิเศษต่างๆ ของตนเข้ามา ในที่สุด Microsoft ได้กำหนดมาตรฐาน TrueType Open ที่จะใช้ได้ทั้ง Windows และ Mac

Open Type (OT) ฟอนต์ที่เกิดจากความร่วมมือระหว่าง Adobe และ Microsoft เพื่อยุติสงครามระหว่างฟอนต์ฟอร์แมต Type 1 กับฟอร์แมต TrueType โดยอาจกล่าวได้ว่า OpenType เป็นส่วนขยาย (extension) ของฟอร์แมต TrueType SFNT ซึ่งสนับสนุนข้อมูลแบบ PostScript และฟีเจอร์ทาง typographic เพิ่มเข้ามา ฟอนต์ OpenType ได้ดึงเอาความสามารถของทั้ง PostScript และ TrueType มาใช้ร่วมกันโดยอาจมีเส้นรอบนอกแบบ PostScript (.otf) หรือแบบ TrueType (.ttf) ก็ได้ แต่จะใช้ตารางข้อมูลฟอนต์แบบ TrueType และเพิ่มตารางพิเศษสำหรับความสามารถในการเรียงพิมพ์ชั้นสูง (Layout Feature) เข้ามาด้วยกัน

Unicode คืออะไร?

Unicode กำหนดหมายเลขเฉพาะสำหรับทุกอักขระ
โดยไม่สนใจว่าเป็นแพล็ตฟอร์มใด
ไม่ขึ้นกับว่าจะเป็นโปรแกรมใด
และไม่ว่าจะเป็นภาษาใด

โดยพื้นฐานแล้ว, คอมพิวเตอร์จะเกี่ยวข้องกับเรื่องของตัวเลข. คอมพิวเตอร์จัดเก็บตัวอักษรและอักขระอื่นๆ โดยการกำหนดหมายเลขให้สำหรับแต่ละตัว. ก่อนหน้าที่๊ Unicode จะถูกสร้างขึ้น, ได้มีระบบ encoding อยู่หลายร้อยระบบสำหรับการกำหนดหมายเลขเหล่านี้. ไม่มี encoding ใดที่มีจำนวนตัวอักขระมากเพียงพอ: ยกตัวอย่างเช่น, เฉพาะในกลุ่มสหภาพยุโรปเพียงแห่งเดียว ก็ต้องการหลาย encoding ในการครอบคลุมทุกภาษาในกลุ่ม. หรือแม้แต่ในภาษาเดี่ยว เช่น ภาษาอังกฤษ ก็ไม่มี encoding ใดที่เพียงพอสำหรับทุกตัวอักษร, เครื่องหมายวรรคตอน และสัญลักษณ์ทางเทคนิคที่ใช้กันอยู่ทั่วไป.

ระบบ encoding เหล่านี้ยังขัดแย้งซึ่งกันและกัน. นั่นก็คือ, ในสอง encoding สามารถใช้หมายเลขเดียวกันสำหรับตัวอักขระสองตัวที่แตกต่างกัน,หรือใช้หมายเลขต่างกันสำหรับอักขระตัวเดียวกัน. ในระบบคอมพิวเตอร์ (โดยเฉพาะเซิร์ฟเวอร์) ต้องมีการสนับสนุนหลาย encoding; และเมื่อข้อมูลที่ผ่านไปมาระหว่างการเข้ารหัสหรือแพล็ตฟอร์มที่ต่างกัน, ข้อมูลนั้นจะเสี่ยงต่อการผิดพลาดเสียหาย.
Unicode จะเปลี่ยนแปลงสิ่งเหล่านั้นทั้งหมด!

Unicode กำหนดหมายเลขเฉพาะสำหรับแต่ละอักขระ, โดยไม่สนใจว่าเป็นแพล็ตฟอร์มใด, ไม่ขึ้นกับว่าจะเป็นโปรแกรมใดและไม่ว่าจะเป็นภาษาใด. มาตรฐาน Unicode ได้ถูกนำไปใช้โดยผู้นำในอุตสาหกรรม เช่น Apple, HP, IBM, JustSystem, Microsoft, Oracle, SAP, Sun, Sybase, Unisys และอื่นๆ อีกมาก. Unicode เป็นสิ่งที่จำเป็นสำหรับมาตรฐานใหม่ๆ เช่น XML, Java, ECMAScript (JavaScript), LDAP, CORBA 3.0, WML ฯลฯ., และเป็นแนวทางอย่างเป็นทางการในการทำ ISO/IEC 10646. Unicode ได้รับการสนับสนุนในระบบปฏิบัติการจำนวนมาก, บราวเซอร์ใหม่ๆ ทกตัว, และผลิตภัณฑ์อื่นๆ อีกมาก. การเกิดขึ้นของ Unicode Standard และทูลส์ต่างๆ ที่มีในการสนับสนุน Unicode, เป็นหนึ่งในแนวโน้มทางเทคโนโลยีซอฟต์แวร์ระดับโลกที่มีความสำคัญที่สุด.

การรวม Unicode เข้าไปในระบบไคลเอ็นต์-เซิร์ฟเวอร์ หรือแอ็พพลิเคชันแบบ multi-tiered และเว็บไซต์ จะทำให้เกิดการประหยัดค่าใช้จ่ายมากกว่าการใช้ชุดอักขระแบบเดิม. Unicode ทำให้ผลิตภัณฑ์ซอฟต์แวร์หนึ่งเดียว หรือเว็บไซต์แห่งเดียว รองรับได้หลายแพล็ตฟอร์ม, หลายภาษาและหลายประเทศโดยไม่ต้องทำการรื้อปรับระบบ. Unicode ยังทำให้ข้อมูลสามารถเคลื่อนย้ายไปมาในหลายๆ ระบบโดยไม่เกิดความผิดพลาดเสียหาย.
***(http://unicode.org/)

รหัส UniCode
เป็นรหัสแบบใหม่ล่าสุด ถูกสร้างขึ้นมาเนื่องจากรหัสขนาด 8 บิตซึ่งมีรูปแบบเพียง 256 รูปแบบ ไม่สามารถแทนภาษาเขียนแบบต่าง ๆ ในโลกได้ครบหมด โดยเฉพาะภาษาที่เป็นภาษาภาพ เช่น ภาษาจีนหรือภาษาญี่ปุ่นเพียงภาษาเดียวก็มีจำนวนรูปแบบเกินกว่า 256 ตัวแล้ว

UniCode จะเป็นระบบรหัสที่เป็น 16 บิต จึงแทนตัวอักษรได้มากถึง 65,536 ตัว ซึ่งเพียงพอสำหรับตัวอักษรและสัญลักษณ์กราฟฟิกโดยทั่วไป รวมทั้งสัญลักษณ์ทางคณิตศาสตร์ต่าง ๆ ในปัจจุบันระบบ UniCode มีใช้ในระบบปฏิบัติการ Window NT ระบบปฏิบัติการ UNIX บางรุ่น รวมทั้งมีการสนับสนุนชนิดข้อมูลแบบ UniCode ในภาษา JAVA ด้วย