Typography, Typographic และ Typographer จริงๆ แล้วทั้ง 3 คำนี้ ในความรู้สึกส่วนตัวนั้นคิดว่าไม่เหมือนกัน โดย Typography จะให้ความรู้สึกไปทางด้านของงานออกแบบที่ใช้ตัวอักษรเป็นหลักมากกว่า ส่วน Typographic น่าจะเป็นชื่อศาสตร์หรือวิชา เหมือนกับชื่อวิชาต่างๆ เช่น Geographic, Physics หรือ Photographic ที่ออกไปทางวิชาการ และ Typographer นั้นก็แปลว่า นักออกแบบ หรือนักประดิษฐ์ตัวอักษร ด้วยเหตุฉะนี้เราควรทำความเข้าใจในส่วนคล้ายคลึงกันของคำแต่ละคำกันก่อน
ส่วนแรก ประวัติศาสตร์สากลของ Typography ซึ่งเวลาเราจะศึกษาอะไรซักอย่างแล้ว เราก็ควรที่จะศึกษาด้านประวัติศาสตร์ของตัวหนังสือกันเสียก่อน ในส่วนนี้เป็นเรื่องของสากล ยังไม่เกี่ยวกับใน ประเทศไทยของเรา...

ประวัติศาสตร์ของตัวพิมพ์นั้นแบ่งออกเป็น 5 ยุคใหญ่ๆ ได้แก่ Humanistor OLD STYLE,
TRANSITIONAL, MODERN, EGYPTIAN หรือ SLAB SERIF และ Geomentric SANS SERIF
ซึ่งแต่ละยุคก็ย่อมามีความแตกต่างกัน ดังนี้...

Humanistor OLD STYLE ยุคแรกเริ่มของตัวพิมพ์ที่เริ่มสร้างบทบาทของตัวพิมพ์ขึ้นมา โดยยุคนี้เกิดขึ้นระหว่างปี ค.ศ. 1966 (ยุคฟื้นฟูศิลปะและวิทยาการ เรอนาซองส์) ซึ่งตัวอักษรที่โด่งดัง และเป็นตัวแทนของยุคนี้ก็คือ Garamond นั่นเอง โดยที่ตัวอักษรในยุคนี้จะมีขา เส้นตีน หรือว่าเชิงอยู่ ที่เรียกกันว่า Serif

ในยุคต่อมาคือ TRANSITIONAL ตัวอักษรได้มีการพัฒนาขึ้นมาจากสร้าง Contrast กับระหว่างเส้นตั้งและนอน ลดเส้นและส่วนที่ไม่สำคัญลงไป แต่ยังคงไว้ด้วยเส้นเชิง หรือ Serif โดยตัวพิมพ์ที่เป็นตัวแทนของยุคนี้ชื่อ Baskerville

MODERN ยุคที่ตัวอักษรพัฒนามาถึงที่สุดแห่งความ Contast จะเห็นได้อย่างชัดเจนว่าตัวอักษรในยุคนี้ได้มีการพัฒนาอย่างชัด คือเส้นตั้ง เส้นเอน และเส้นนอนจะมีความแต่ต่างกันอย่างมาก จนสังเกตุได้ชัด ซึ่งเส้นที่บางเราจะเรียกว่า Hairline โดยชื่อตัวอักษรที่เป็นตัวแทนแห่งยุคนี้คือ Bodoni

EGYPTIAN หรือ SLAB SERIF เป็นยุคที่การค้าขายเจริญ การพิมพ์ก็เริ่มมีบทบาทมากขึ้นเรื่อย และตัวอักษรในยุคนี้ก็มีเอกลักษณ์อย่างชัดเจนก็คือ เส้นเชิงหรือ Serif นั้น มีขนาดเท่ากับเส้นแนวตั้งหรือแนวนอนของตัวอักษร ซึ่งตัวอักษรที่เป็นตัวแทนแห่งยุคนี้คือ Rockwell

จากเรื่องราวของประวัติศาสตร์ตัวพิมพ์อย่างคร่าวๆ เราจะเห็นได้ว่าด้วยรูปแบบและความจำเป็น
ของตัวอักษรได้มีการปรับเปลี่ยนและพัฒนามาอย่างต่อเนื่อง